วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

การบัญชีและการจักการ

1 สินค้าคงเหลือ 


การบัญชีสำหรับธุรกิจซื้อขายสินค้า


3 ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา


4 การบัญชีสำหรับกิจการอุตสาหกรรม


5 บัญชีแยกประเภททั่วไป


6 การวิเคราัะห์รายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป


7  การบันทึกบัญชีสำหลับกิจการรับเหมาก่อสร้าง


8 การบัญชีฝากขาย


9 การคำนวณหาต้นทุนขาย


10 ระบบการคำนาณต้นทุนผลิตภัณฑ์


11  การปันส่วนค่าใช้จ่ายในการผลิตและระบบบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม


12  วิธีการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับกิจการร่วมค้า


13  หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ


14  การปรับปรุงบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป


15  การจัดทำงบการเงิน

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การบัญทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

หลักการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป


            ก่อนที่จะศึกษาถึงการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปนั้น ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบันทึกบัญชีเสียก่อน ซึ่งหลักการบันทึกบัญชีมีอยู่ด้วยกัน 2 หลักการ คือ
1.    หลักการบัญชีเดี่ยว (Single-entry book-keeping) เป็นหลักการบันทึกบัญชีอย่างง่ายเพียงแค่จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง เช่น นาย ก.นำเงินมาลงทุน 100,000 บาท ก็บันทึกไปเลยว่า นาย ก.นำเงินมาลงทุน 100,000 บาท ซึ่งการบันทึกบัญชีแบบนี้ถึงแม้ว่าจะง่าย แต่จะไม่ให้ประโยชน์อะไรมากนัก เช่นหากเจ้าของกิจการต้องการทราบว่าจนถึงปัจจุบันกิจการมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ก็จะไม่สามารถทราบได้ ดังนั้นหลักการบัญชีเดี่ยวจึงเป็นหลักการบัญชีที่ไม่นิยมใช้และถือเป็นหลักการบัญชีที่ไม่สมบูรณ์แบบ
2.    หลักการบันทึกบัญชีคู่ (Double-entry book-keeping) เป็นหลักการบัญชีที่สมบูรณ์แบบ และเป็นหลักการบัญชีที่ใช้กันโดยทั่วไป รวมถึงเป็นหลักการบัญชีที่ใช้ในการศึกษาวิชาบัญชีต่าง ๆ อีกด้วย ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จะใช้อธิบายถึงการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่เท่านั้น
หลักการบันทึกบัญชีคู่ เป็นหลักการบันทึกบัญชีที่มีหลักที่สำคัญก็คือ รายการค้าทุกรายการที่เกิดขึ้นเมื่อทำการวิเคราะห์แล้วจะต้องนำไปบันทึกบัญชี 2 ด้านเสมอ คือ ด้านเดบิต กับด้านเครดิต
1.    ด้านเดบิต (Debit) หรือมักจะใช้ตัวย่อว่า Dr คือ ด้านซ้ายของสมการบัญชี ดังนั้นด้านเดบิตจึงเป็นด้านที่ใช้บันทึกรายการบัญชีที่ทำให้ด้านซ้ายของ สมการบัญชีเพิ่มขึ้นหรือรายการบัญชีที่ทำให้ด้านขวาของสาการบัญชีลดลง คือ การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ การลดลงของหนี้สิน และการลดลงของส่วนของเจ้าของ
2.    ด้านเครดิต (Credit) หรือมักจะใช้ตัวย่อว่า Cr คือด้านขวาของ สมการบัญชี ดังนั้นด้านเครดิตจึงเป็นด้านที่ใช้บันทึกรายการบัญชีที่ทำให้ด้านขวาของ สมการบัญชีเพิ่มขึ้นหรือรายการบัญชีที่ทำให้ด้านซ้ายของสมการบัญชีลดลง คือ การลดลงของสินทรัพย์ การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และการเพิ่มขึ้นของส่วนของเจ้าของ

สรุปหลักการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่


                             ด้านเดบิต
                         ด้านเครดิต
                 1. สินทรัพย์เพิ่มขึ้น
               1. สินทรัพย์ลดลง
                 2. หนี้สินลดลง
               2. หนี้สินเพิ่มขึ้น
                 3. ส่วนของเจ้าของลดลง
               3. ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น
                       - รายได้ลดลง
                    - รายได้เพิ่มขึ้น
                        - ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
                    - ค่าใช้จ่ายลดลง

            เมื่อเข้าใจถึงหลักการบันทึกบัญชีโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการบัญชีคู่แล้ว ต่อไปจะได้อธิบายถึงการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ในสมุดรายวันทั่วไป
รายการค้าที่บันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.    รายการเปิดบัญชี (Opening Entry) เป็นการบันทึกรายการแรกในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่มีการลงทุนครั้งแรก หรือเมื่อมีการเริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่
2.    รายการปกติของกิจการ (Journal Entry) เป็นการบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการการลงทุนหรือเริ่มระยะเวลาบัญชีใหม่แล้ว ในแต่ละวันโดยการบันทึกรายการค้าปกติของกิจการจะบันทึกโดยเรียงตามลำดับก่อนหลังของการเกิดรายการค้า


รูปแบบของสมุดรายวันทั่วไป (General Journal Form)

สมุดรายวันทั่วไป
(General Ledger)
                                                                                                   หน้า (Page)……..
วันที่
(Date)
รายการ
(Account Names and Explanation)
เลขที่บัญชี
(Account No.)
เดบิต
(Debit)
เครดิต
(Credit)
































































































            จากรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไปข้างต้น จะสามารถอธิบายถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ของสมุดรายวันทั่วไป ได้ดังนี้
1.    จะต้องมีคำว่าสมุดรายวันทั่วไป (General Journal) อยู่หัวกระดาษตรงกลางเพื่อที่จะบอกว่าแบบฟอร์มที่จัดทำนี้คือสมุดรายวันทั่วไป
2.    จะต้องมีเลขที่หน้าของสมุดรายวันทั่วไปอยู่ตรงมุมบนขวามือของกระดาษเพื่อบอกว่าสมุดรายวันทั่วไปที่บันทึกอยู่นี้เป็นหน้าที่เท่าไร
3.    ช่องที่ 1 ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่แสดงวันที่ ของรายการค้าที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องเป็นวันที่ที่เรียงลำดับก่อนหลังของรายการค้าที่เกิดขึ้น ในการบันทึกรายการในช่องวันที่นั้น ให้บันทึกปีพ..ก่อน โดยบันทึกไว้อยู่ตรงกลาง ต่อมาบันทึกเดือน โดยบันทึกไว้ด้านหน้า แล้วต่อมาจึงบันทึกวันที่ หากวันต่อไปของรายการค้าที่จะต้องบันทึกบัญชีหากเป็นปีเดียวกัน เดือนเดียวกัน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องบันทึก ปี พ.. และเดือนใหม่อีก
4.    ช่องที่ 2 เป็นช่องรายการ ใช้บันทึกรายการบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิต รายการที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิต และคำอธิบายรายการ โดยในการบันทึกรายการในช่องนี้ให้บันทึกบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิตก่อน โดยให้บันทึกทางด้านซ้ายของช่องให้ชิดเส้นซ้ายมือของช่อง หากรายการค้าใดที่มีบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิตมากกว่า 1 บัญชีให้บันทึกบัญชีทางด้านเดบิตให้หมดเสียก่อน จากนั้นให้บันทึกบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิต โดยเยื้องมาทางด้านขวามือเล็กน้อยประมาณหนึ่งนิ้วถึงหนึ่งนิ้วครึ่ง หากรายการค้าใดมีบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิตมากกว่า 1 บัญชีให้บันทึกบัญชีทางด้านเครดิตให้หมด ซึ่งหลักการบันทึกบัญชีว่าบัญชีใดบันทึกทางด้านเดบิต และบัญชีใดบันทึกทางด้านเครดิตนั้น จะได้อธิบายต่อไปในหัวข้อหลักการบันทึกบัญชีคู่ จากนั้นให้เขียนคำอธิบายรายการเพื่ออธิบายว่าเกิดรายการค้าอะไรเกิดขึ้นจึงทำให้ต้องบันทึกบัญชีเช่นนั้น โดยการเขียนคำอธิบายรายการให้เขียนโดยชิดซ้ายติดกับเส้นทางด้านซ้ายของช่อง สุดท้ายให้ขีดเส้นใต้เพื่อแสดงการสิ้นสุดการบันทึกรายการค้านั้น ๆ ในการขีดเส้นใต้นี้ให้ขีดเส้นใต้เฉพาะช่องรายการเท่านั้น
5.    ช่องที่ 3 เป็นช่องเลขที่บัญชี ใช้บันทึกเลขที่บัญชีที่บันทึกไว้ในช่องรายการทั้งทางด้านเดบิต และเครดิต ซึ่งเรื่องเลขที่บัญชีนี้จะได้อธิบายให้ละเอียดในหัวข้อถัดไป
6.    ช่องที่ 4 เป็นช่องเดบิต ใช้บันทึกจำนวนเงินที่บันทึกบัญชีแต่ละบัญชีทางด้านเดบิต โดยแบ่งเป็น 2 ช่องย่อย คือช่องบาท และช่องสตางค์
7.    ช่องที่ 5 เป็นช่องเครดิต ใช้บันทึกจำนวนเงินที่บันทึกบัญชีแต่ละบัญชีทางด้านเครดิต โดยแบ่งเป็น 2 ช่องย่อย คือช่องบาท และช่องสตางค์


หลักการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป


            ก่อนที่จะศึกษาถึงการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไปนั้น ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบันทึกบัญชีเสียก่อน ซึ่งหลักการบันทึกบัญชีมีอยู่ด้วยกัน 2 หลักการ คือ
1.    หลักการบัญชีเดี่ยว (Single-entry book-keeping) เป็นหลักการบันทึกบัญชีอย่างง่ายเพียงแค่จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง เช่น นาย ก.นำเงินมาลงทุน 100,000 บาท ก็บันทึกไปเลยว่า นาย ก.นำเงินมาลงทุน 100,000 บาท ซึ่งการบันทึกบัญชีแบบนี้ถึงแม้ว่าจะง่าย แต่จะไม่ให้ประโยชน์อะไรมากนัก เช่นหากเจ้าของกิจการต้องการทราบว่าจนถึงปัจจุบันกิจการมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ก็จะไม่สามารถทราบได้ ดังนั้นหลักการบัญชีเดี่ยวจึงเป็นหลักการบัญชีที่ไม่นิยมใช้และถือเป็นหลักการบัญชีที่ไม่สมบูรณ์แบบ
2.    หลักการบันทึกบัญชีคู่ (Double-entry book-keeping) เป็นหลักการบัญชีที่สมบูรณ์แบบ และเป็นหลักการบัญชีที่ใช้กันโดยทั่วไป รวมถึงเป็นหลักการบัญชีที่ใช้ในการศึกษาวิชาบัญชีต่าง ๆ อีกด้วย ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จะใช้อธิบายถึงการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่เท่านั้น
หลักการบันทึกบัญชีคู่ เป็นหลักการบันทึกบัญชีที่มีหลักที่สำคัญก็คือ รายการค้าทุกรายการที่เกิดขึ้นเมื่อทำการวิเคราะห์แล้วจะต้องนำไปบันทึกบัญชี 2 ด้านเสมอ คือ ด้านเดบิต กับด้านเครดิต
1.    ด้านเดบิต (Debit) หรือมักจะใช้ตัวย่อว่า Dr คือ ด้านซ้ายของสมการบัญชี ดังนั้นด้านเดบิตจึงเป็นด้านที่ใช้บันทึกรายการบัญชีที่ทำให้ด้านซ้ายของ สมการบัญชีเพิ่มขึ้นหรือรายการบัญชีที่ทำให้ด้านขวาของสาการบัญชีลดลง คือ การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ การลดลงของหนี้สิน และการลดลงของส่วนของเจ้าของ
2.    ด้านเครดิต (Credit) หรือมักจะใช้ตัวย่อว่า Cr คือด้านขวาของ สมการบัญชี ดังนั้นด้านเครดิตจึงเป็นด้านที่ใช้บันทึกรายการบัญชีที่ทำให้ด้านขวาของ สมการบัญชีเพิ่มขึ้นหรือรายการบัญชีที่ทำให้ด้านซ้ายของสมการบัญชีลดลง คือ การลดลงของสินทรัพย์ การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และการเพิ่มขึ้นของส่วนของเจ้าของ

สรุปหลักการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่


                             ด้านเดบิต
                         ด้านเครดิต
                 1. สินทรัพย์เพิ่มขึ้น
               1. สินทรัพย์ลดลง
                 2. หนี้สินลดลง
               2. หนี้สินเพิ่มขึ้น
                 3. ส่วนของเจ้าของลดลง
               3. ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น
                       - รายได้ลดลง
                    - รายได้เพิ่มขึ้น
                        - ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
                    - ค่าใช้จ่ายลดลง

            เมื่อเข้าใจถึงหลักการบันทึกบัญชีโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการบัญชีคู่แล้ว ต่อไปจะได้อธิบายถึงการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีคู่ในสมุดรายวันทั่วไป
รายการค้าที่บันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.    รายการเปิดบัญชี (Opening Entry) เป็นการบันทึกรายการแรกในสมุดรายวันทั่วไป ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่มีการลงทุนครั้งแรก หรือเมื่อมีการเริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่
2.    รายการปกติของกิจการ (Journal Entry) เป็นการบันทึกรายการค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากมีการการลงทุนหรือเริ่มระยะเวลาบัญชีใหม่แล้ว ในแต่ละวันโดยการบันทึกรายการค้าปกติของกิจการจะบันทึกโดยเรียงตามลำดับก่อนหลังของการเกิดรายการค้า

ตัวอย่างการบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป


ตัวอย่างที่ 1 (กรณีรายการเปิดบัญชีเป็นการนำสินทรัพย์เพียงอย่างเดียวมาลงทุน)
            นายบำรุงได้เปิดกิจการอู่ซ่อมรถชื่อ บำรุงกลการโดยเริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 และมีรายการค้าเกิดขึ้นดังนี้
2546
..      1          นายบำรุงนำเงินสดมาลงทุน 400,000 บาท
            2          ซื้ออุปกรณ์ในการซ่อม 150,000 บาท
5                     ได้รับเงินค่าซ่อมรถ 35,000 บาท
8                     ซื้ออุปกรณ์ซ่อมเพิ่มเติม 100,000 บาท โดยจ่ายเงินสดไปเพียง 40,000 บาท ที่เหลือขอติดไว้ก่อน
12                 จ่ายค่าโฆษณาอู่ 2,000 บาท
15                 ส่งบิลไปเรียกเก็บค่าซ่อมรถจากบริษัท อุตสาหะประกันภัย จำกัด จำนวน 65,000 บาท ยังไม่ได้รับเงิน
20                 จ่ายค่าแรงคนงาน 6,000 บาท
21                 ได้รับชำระหนี้จากบริษัท อุตสาหะประกันภัย จำกัด จำนวน 30,000 บาท และนำเงินฝากธนาคารทันที
26                 จ่ายชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ซ่อมที่ซื้อมาเมื่อวันที่ 8.. 46 ทั้งหมด
28         จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า 750 บาท
30         จ่ายค่าเช่าอู่ 5,000 บาท ด้วยเช็ค

สมุดรายวันทั่วไป


หน้า 1
วันที่

รายการ

เลขที่บัญชี
เดบิต

เครดิต

2546







..
1
เงินสด
11
400,000
-




       ทุน-นายบำรุง
31


400,000
-


นายบำรุงนำเงินสดมาลงทุน






2
อุปกรณ์ซ่อม
15
150,000
-




       เงินสด
11


150,000



ซื้ออุปกรณ์ในการซ่อม






5
เงินสด
11
15,000
-




       รายได้ค่าซ่อม
41


15,000
-


รับเงินค่าซ่อมรถ






8
อุปกรณ์ซ่อม
15
100,000
-




       เงินสด
11


40,000
-


       เจ้าหนี้
21


60,000
-


ซื้ออุปกรณ์ในการซ่อมเพิ่มเติม จ่ายเงินไปเป็นบางส่วนที่เหลือขอติดไว้ก่อน






12
ค่าโฆษณา
53
2,000
-




       เงินสด
11


2,000
-


จ่ายค่าโฆษณาอู่






สมุดรายวันทั่วไป


หน้า 2
วันที่

รายการ

เลขที่บัญชี
เดบิต

เครดิต


15
ลูกหนี้
13
65,000
-




       รายได้ค่าบริการซ่อม
41


65,000
-


ส่งบิลเรียกเก็บค่าซ่อมรถจากบริษัท อุตสาหะประกันภัย จำกัด ยังไม่ได้รับเงิน






20
เงินเดือนและค่าแรง
51
6,000
-




       เงินสด
11


6,000
-


จ่ายค่าแรงคนงาน






21
เงินฝากธนาคาร
12
30,000
-




       ลูกหนี้
13


30,000
-


รับชำระหนี้จากบริษัท อุตสาหะประกันภัย จำกัด บางส่วนและนำฝากธนาคารทันที






26
เจ้าหนี้
21
60,000
-




       เงินสด
11


60,000
-


จ่ายชำระหนี้ค่าอุปกรณ์ซ่อมที่ซื้อมาเมื่อวันที่ 8.. 46 ทั้งหมด






28
ค่าสาธารณูปโภค
54
750
-




       เงินสด
11


750
-


จ่ายค่าน้ำค่าไฟฟ้า






30
ค่าเช่า
52
5,000
-




       เงินฝากธนาคาร
12


5,000
-


จ่ายค่าเช่าอู่ด้วยเช็ค






หมายเหตุ : ลักษณะการบันทึกบัญชีในวันที่ 8 เป็นลักษณะการบันทึกบัญชีที่มีรายการด้านเดบิตหรือด้านเครดิตมากกว่า 1 รายการ เรียกว่าการบันทึกรายการแบบรวม (Compound Journal Entries)